สนพ. ดัน “แผนพลังงานแห่งชาติ” พร้อมการขับเคลื่อนอนาคตพลังงานไทย มุ่งลดคาร์บอนเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 – 2070

01 ตุลาคม 2564 05.35 น.
อ่าน 5,757 ครั้ง
 

สนพ. ดัน “แผนพลังงานแห่งชาติ” พร้อมการขับเคลื่อนอนาคตพลังงานไทย

มุ่งลดคาร์บอนเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 – 2070

 

 

เมื่อพูดถึง พลังงาน มีใครสงสัยหรือไม่ว่า พลังงาน คืออะไร “พลังงาน” คือสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ที่พร้อมจะขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้า ยิ่งโลกยุคปัจจุบัน ที่เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ล้วนต้องพึ่งพาพลังงานในการขับเคลื่อนทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ต้องพึ่งพาพลังงานทั้งสิ้น ทั้งนี้ ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะก่อให้เกิดผลกระทบในระยะยาวและต่อเนื่อง

 

ซึ่งตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่ต้องเร่งปรับเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์เร็วขึ้น และจากกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อการวางแผนด้านนโยบายพลังงานของประเทศ และทำให้มีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมของประชาชนทั้งผู้ผลิต และผู้ใช้พลังงานที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงในเวลานี้ 

 

กระทรวงพลังงาน จึงได้จัดทำ “แผนพลังงานชาติ หรือ National Energy Plan 2022 ขึ้นใหม่เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายเพื่อพัฒนาพลังงานของประเทศไทยในอนาคต และการจัดทำแผนในครั้งนี้จะเป็นการรวบรวมแผนพลังงานที่มีอยู่ทั้ง 5 แผนบูรณาการไว้ภายใต้แผนเดียวกันประกอบด้วย แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก แผนอนุรักษ์พลังงาน แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ และแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง

 

กระทรวงพลังงาน โดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือ สนพ. ได้ดำเนินการจัดทำแผนพลังงานชาติ ที่มีแนวทางการมุ่งสู่เป้าหมาย “ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2065 – 2070” ซึ่งจะมีผลต่อทิศทางการพัฒนาพลังงานที่สำคัญประกอบด้วย

 

  • ด้านไฟฟ้า เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าใหม่ โดยมีสัดส่วน RE ไม่น้อยกว่า 50% ให้สอดคล้องกับแนวโน้มต้นทุน RE ที่ต่ำลงโดยพิจารณาต้นทุน ESS ร่วมด้วย และไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในระยะยาวสูงขึ้น
  • ด้านก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะเน้นการเปิดเสรีและการจัดหาเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบพลังงานประเทศ และการนำเข้า LNG มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการซื้อขาย หรือ LNG Hub
  • ด้านน้ำมัน จะต้องมีการปรับแผนพลังงานภาคขนส่ง และพิจารณาการบริหารการเปลี่ยนผ่าน สร้างความสมดุลระหว่างผู้ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio Fuel) และ EV
  • ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จะมีการส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน ในทุกภาคส่วนให้มากขึ้น ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานจากทุกภาคส่วนให้เข้มข้นมากขึ้น

 

นอกจากนี้ แนวนโยบายของแผนพลังงานชาติฉบับนี้ ยังมีเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานภาคขนส่งเป็นพลังงานไฟฟ้าสีเขียว ผ่าน EV ตามนโยบาย 30@30 เพื่อเพิ่มความสามารถในการลดการปลดปล่อย GHG ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคขนส่งให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของสภาพอากาศจากภาวะฝุ่นละออง PM 2.5 รวมทั้งการปรับเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน มากกว่า 30% โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการบริหารจัดการพลังงานสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพลังงาน ตลอดจนการปรับโครงสร้างกิจการพลังงานรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) ตามแนวทาง 4D1E อีกด้วย

 

ทั้งนี้ สนพ.ได้เริ่มเปิดรับฟังความคิดเห็น “กรอบแผนพลังงานชาติ” ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จากหน่วยงานรัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการเอกชน สมาคมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน ซึ่งการเปิดรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ จะเป็นกรอบและทิศทางของแผนฯ ที่จะมุ่งสู่พลังงานสะอาด

 

เพื่อแสดงถึงจุดยืนและการเตรียมการปรับเปลี่ยนให้รองรับแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านระบบเศรษฐกิจ สู่เศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ (Neutral-carbon economy) เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย เพื่อโอกาสในการดึงดูดการลงทุน จากนักลงทุนต่างประเทศ ที่มีนโยบายมุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาด และคำนึงถึงความมั่นคงของระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะภายในช่วงเวลา 1-10 ปี ข้างหน้า และจะเป็นแผนฯ ที่มีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการขับเคลื่อนอนาคตพลังงานไทย ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น ที่จะสามารถช่วยกำหนดทิศทางให้นโยบายด้านพลังงานอย่างมีเป้าหมาย และเกิดการพัฒนาพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ทั้งนี้ สนพ. คาดว่า แผนพลังงานชาติ (National Energy Plan 2022) จะเริ่มใช้ได้จริงในปี 2566 นี้ ซึ่งหากประเทศไทยมุ่งสู่ Low Carbon Economy ตามแผนพลังงานชาติได้นั้น เชื่อว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย เพื่อรองรับรูปแบบการค้าผ่านภาษีคาร์บอน รวมถึงช่วยบรรเทาปัญหามลพิษ PM2.5 ได้อีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มสัดส่วนของพลังงานสะอาด ซึ่งจะเป็นการเพิ่มการลงทุนในประเทศ รวมถึงยังช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤติโควิดอีกด้วย

 

นอกจากนี้ยังจะช่วยส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากพลังงานหมุนเวียนต่ำจากการลงทุนของผู้ใช้ไฟฟ้าเพื่อลดต้นทุนไฟฟ้าโดยรวม และจะช่วยกำหนดทิศทาง ให้นโยบายด้านพลังงานของประเทศไทย ขับเคลื่อนไปอย่างมีเป้าหมาย และเกิดการพัฒนาพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน

 

- Advertisement -
- Advertisement -

RELATED

- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -

Lasted

  • รัฐ-เอกชน เสวนา โครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ ต้องเป็นธรรมทุกภาคส่วน
    25 เม.ย. 2567 15.50 น.
  • “สมาคมเพื่อนชุมชน” ถ่ายทอด แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก ดันระยองสู่ “เมืองสังคมคาร์บอนต่ำ”
    25 เม.ย. 2567 15.19 น.
  • "OR - กรมชลประทาน" ร่วมยกระดับ "รถโดยสารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า" สู่่ความยั่งยืน
    25 เม.ย. 2567 14.50 น.
  • BWG - GULF ปิดดีลร่วมทุนโรงไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม-SRF เรียบร้อย
    25 เม.ย. 2567 14.43 น.
  • ปตท.สผ. เผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2567
    25 เม.ย. 2567 14.13 น.

Most Viewed

  • "อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์" คว้าสุดยอดผู้นำองค์กรแห่งปี
    20 มิ.ย. 2566 21.47 น.
  • สนพ. เผยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพโลก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
    22 พ.ค. 2566 18.13 น.
  • 54 ปี กฟผ. เดินหน้าผลิตไฟฟ้าสีเขียว รุกขยายโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อน
    01 พ.ค. 2566 09.50 น.
  • แม่ฮ่องสอน..สู่เมืองท่องเที่ยวสีเขียว ชู "โซลาร์ฟาร์มสมาร์ทกริด" พร้อมจ่ายไฟเชิงพาณิชย์แล้ววันนี้
    25 พ.ค. 2566 17.14 น.
  • ‘ผลิต-ไฟฟ้าลาว’ มั่นใจผลงานปีนี้เติบโตเด่น รับดีมานด์ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคเพิ่ม
    03 พ.ค. 2566 13.56 น.