กบง. ออกแนวทางการลดผลกระทบค่าครองชีพด้านพลังงานทั้งระบบ ไฟฟ้า ก๊าซ NGV และ LPG และขยายกำหนดวัน SCOD โครงการ SPP Hybrid Firm ต่ออีกถึงปี 65

28 กันยายน 2563 07.44 น.
อ่าน 1,668 ครั้ง
 
      กบง. เห็นชอบทบทวนมาตราการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 โดยพิจารณาการออกมาตรการบรรเทาผลกระทบภาคพลังงานทั้งระบบให้เป็นรูปธรรม นอกจากนี้ให้ปรับหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันกลุ่มดีเซลหมุนเร็วใหม่ รวมทั้งให้ขยายเวลามาตรการช่วยเหลือราคาก๊าซ LPG ออกไปจนสิ้นปี 63 และเห็นชอบการขยายกำหนดวัน SCOD โครงการ SPP Hybrid Firm ออกไป 1 ปี เป็นปี 65
 
      กระทรวงพลังงาน วันนี้ (21 ก.ย. 63) นายสุพัฒน์พงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) โดยมีเรื่องพิจารณาที่สำคัญ ดังนี้
 
      1. เห็นชอบแนวทางลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสำหรับประชาชน เพื่อเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในการดำรงชีพของประชาชน ในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้
แนวทางการลดภาระค่าไฟฟ้า: มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไปดำเนินการทบทวนความต้องการรายได้ของการไฟฟ้า ทบทวนหลักเกณฑ์ทางการเงินให้มีต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไปบริหารจัดการปริมาณกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และให้ กกพ. ร่วมกับ กฟผ. จัดทำแผนการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า รวมทั้งติดตามกำกับดูแลการสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าของ กฟผ.
การทบทวนการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติ: มอบหมายให้ กกพ. ไปกำหนดอัตราค่าบริการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (S) และทบทวนค่าบริการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ให้เหมาะสม การช่วยเหลือราคา NGV: มอบหมายให้ กกพ. ทบทวนต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติ ในโครงสร้างราคาขายปลีกก๊าซ NGV ให้มีความเหมาะสม สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน ทบทวนหลักเกณฑ์ในการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า: มอบหมาย กกพ. ไปปรับปรุงแนวทางการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อให้สามารถจัดสรรเงินกองทุนฯ โครงการต่างๆ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล
 
      2. เห็นชอบการปรับหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันกลุ่มดีเซลหมุนเร็ว จากนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 10 เป็นน้ำมันดีเซลเกรดพื้นฐานของประเทศ กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ได้ปรับเปลี่ยนชื่อเรียกน้ำมันกลุ่มดีเซลหมุนเร็ว โดยมีน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (บี7) และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 20 เป็นทางเลือก จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป และการปรับหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 7 ในส่วนของค่า X จากเดิมเป็นค่าเฉลี่ย เป็นอัตราต่ำ ซึ่งจะทำให้การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 7 ลดลงประมาณ 0.051 บาทต่อลิตร (ณ ราคาไบโอดีเซล 25.90 บาทต่อลิตร) ทั้งนี้ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้ค้าน้ำมันเพิ่มสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลบี 10 ในการดูดซับน้ำมันปาล์มดิบส่วนเกิน และช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มอีกทางหนึ่งด้วย
 
      3. เห็นชอบให้ทบทวนการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) รัฐบาลยังคงช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบต่อการดำรงชีพและภาระค่าครองชีพจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 กบง. จึงให้คงราคาขายปลีก LPG ออกไปอีก 3 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2563) ให้ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น LPG ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 14.3758 บาทต่อกิโลกรัม หรือราคาขายปลีกอยู่ที่ 318 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม โดยใช้กองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของ LPG มาบริหาร (รายจ่ายประมาณ 450 ล้านบาท/เดือน) ซึ่งเป็นไปตามกรอบวงเงินที่คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) กำหนดให้ใช้ได้ไม่เกิน 10,000 ล้านบาท หรืออีกประมาณ 5 เดือน (ตุลาคม 2563 - มกราคม 2564) ณ 13 กันยายน 2563 บัญชีก๊าซ LPG -7,424 ล้านบาท เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชนต่อไป
 
     4. เห็นชอบตามข้อเสนอเชิงนโยบายตามข้อเสนอของ กกพ. เพื่อเยียวยาผู้ได้รับการคัดเลือกโครงการ SPP Hybrid Firm ในการขยายกำหนดวัน SCOD โครงการ SPP Hybrid Firm ออกไป 1 ปี จากเดิมปี 2564 เป็นปี 2565 จากปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาโครงการฯ ที่ไม่สามารถจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อมได้ตามระยะเวลา โดยมอบให้ กกพ. ไปดำเนินการแจ้งผู้ได้รับการคัดเลือก ให้จัดทำรายงานแผนการดำเนินการโครงการฯ และจัดส่งให้ กกพ. ภายในวันที่ 30 ตุลาคม 2563 เพื่อพิจารณา และนำผลการพิจารณา มารายงานต่อ กบง. ต่อไป
 
      5. เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการการส่งออกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) โดยให้ยกเลิกมติเดิม และมอบหมายให้ กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เป็นผู้อนุญาตการส่งออก LPG เป็นรายเที่ยว สำหรับการส่งออกจากปริมาณที่ผลิตได้ในประเทศจะพิจารณาอนุญาตเฉพาะผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ที่เป็นผู้ผลิต LPG และให้ส่งออกได้ในปริมาณ ไม่เกินกว่าส่วนที่เกินจากความต้องการใช้ภายในประเทศ และให้สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) พิจารณามาตรการ LPG จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติเพื่อการส่งออกและจำหน่ายในประเทศ หากเกิดผลกระทบต่อสภาพคล่องกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และแจ้งให้ ธพ. ทราบ
 
 
- Advertisement -
- Advertisement -

RELATED

- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -

Lasted

  • ก.พลังงาน ปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซล 50 สต.มีผลพรุ่งนี้ หลังหมดมาตรการลดภาษีดีเซลในวันนี้ ห่วงสงครามทำราคาน้ำมันพุ่ง
    19 เม.ย. 2567 20.08 น.
  • “The Chlorophyll @ Hua Hin” รุกธุรกิจไลฟ์สไตล์มอลล์แห่งแรก
    19 เม.ย. 2567 19.32 น.
  • สนพ. เผยราคาน้ำมันไบโอดีเซลไทยเพิ่มขึ้น 0.81 บาทต่อลิตร
    19 เม.ย. 2567 16.57 น.
  • "ออมสิน" เปิดให้กู้ โครงการ “สินเชื่อออมสินรีไฟแนนซ์เพื่อสังคม” ตั้งเป้าแก้หนี้ครัวเรือนตามนโยบายรัฐ
    19 เม.ย. 2567 15.16 น.
  • EGCO Group แต่งตั้ง “จิราพร ศิริคำ” นั่ง "กรรมการผู้จัดการใหญ่" มีผล 1 พ.ค. 67
    17 เม.ย. 2567 09.40 น.

Most Viewed

  • "อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์" คว้าสุดยอดผู้นำองค์กรแห่งปี
    20 มิ.ย. 2566 21.47 น.
  • สนพ. เผยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพโลก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
    22 พ.ค. 2566 18.13 น.
  • 54 ปี กฟผ. เดินหน้าผลิตไฟฟ้าสีเขียว รุกขยายโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อน
    01 พ.ค. 2566 09.50 น.
  • แม่ฮ่องสอน..สู่เมืองท่องเที่ยวสีเขียว ชู "โซลาร์ฟาร์มสมาร์ทกริด" พร้อมจ่ายไฟเชิงพาณิชย์แล้ววันนี้
    25 พ.ค. 2566 17.14 น.
  • ‘ผลิต-ไฟฟ้าลาว’ มั่นใจผลงานปีนี้เติบโตเด่น รับดีมานด์ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคเพิ่ม
    03 พ.ค. 2566 13.56 น.