คณะกรรมการ PPP ไฟเขียว 2 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 19,000 ล้านบาท

29 ตุลาคม 2563 10.27 น.
อ่าน 7,698 ครั้ง
 
คณะกรรมการ PPP ไฟเขียว 2 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 19,000 ล้านบาท หนุนเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ
พร้อมเห็นชอบกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 รองรับการดำเนินโครงการอย่างครบถ้วน

นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการ
และเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) เปิดเผย
ผลการประชุมคณะกรรมการ PPP ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม 2563 ณ ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน
 
โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งมีผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. คณะกรรมการ PPP ได้เห็นชอบในหลักการของโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost จำนวน 2 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 18,961 ล้านบาท ได้แก่
      1.1 โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว ของการนิคมอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย (กนอ.) มูลค่ารวม 16,096 ล้านบาท ในรูปแบบการให้เอกชนบริหารจัดการโดยให้สัมปทาน
โดย กนอ. จะมอบสิทธิแก่เอกชนเข้าใช้ทรัพย์สินเดิมของโครงการและดำเนินโครงการ ทั้งนี้ เอกชนจะเป็นผู้รับผิดชอบการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมด โดยภาครัฐไม่มีภาระการลงทุนในโครงการ ตลอดระยะเวลา
ร่วมลงทุน 30 ปี เพื่อสนับสนุนการประกอบกิจการของผู้ประกอบการในพื้นที่กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
และพื้นที่ใกล้เคียง
 
      1.2 โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย ของกรมการขนส่งทางบกมูลค่ารวม 2,865 ล้านบาท โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุนค่าที่ดิน ค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุน
ค่าอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า อุปกรณ์สำนักงานและส่วนประกอบ และงานระบบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารด้านการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ รวมถึง O&M ทั้งหมด ตลอดระยะเวลาโครงการ 15 ปี เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนรูปแบบ
การขนส่งระหว่างประเทศบริเวณพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน รวมถึงเชื่อมต่อระบบการขนส่งจากทางถนนไปสู่ทางรถไฟ โดยให้ไปพิจารณาผลตอบแทนของรัฐอย่างรอบคอบในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชน รวมถึงการขอรับสิทธิประโยชน์ BOI
 
2. คณะกรรมการ PPP เห็นชอบร่างกฎหมายลำดับรองและแนวทางปฏิบัติภายใต้ พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ
ปี 2562 ในเรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาใช้การคัดเลือกเอกชนโดยไม่ใช้วิธีประมูล รวมถึงแนวทางการพิจารณาความสำคัญของโครงการร่วมลงทุนที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 - 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีกฎหมายลำดับรองที่ใช้สำหรับการจัดทำและดำเนินโครงการครบถ้วน
 
 
- Advertisement -
- Advertisement -

RELATED

- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -

Lasted

  • รัฐ-เอกชน เสวนา โครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ ต้องเป็นธรรมทุกภาคส่วน
    25 เม.ย. 2567 15.50 น.
  • “สมาคมเพื่อนชุมชน” ถ่ายทอด แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก ดันระยองสู่ “เมืองสังคมคาร์บอนต่ำ”
    25 เม.ย. 2567 15.19 น.
  • "OR - กรมชลประทาน" ร่วมยกระดับ "รถโดยสารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า" สู่่ความยั่งยืน
    25 เม.ย. 2567 14.50 น.
  • BWG - GULF ปิดดีลร่วมทุนโรงไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม-SRF เรียบร้อย
    25 เม.ย. 2567 14.43 น.
  • ปตท.สผ. เผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2567
    25 เม.ย. 2567 14.13 น.

Most Viewed

  • "อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์" คว้าสุดยอดผู้นำองค์กรแห่งปี
    20 มิ.ย. 2566 21.47 น.
  • สนพ. เผยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพโลก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
    22 พ.ค. 2566 18.13 น.
  • 54 ปี กฟผ. เดินหน้าผลิตไฟฟ้าสีเขียว รุกขยายโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อน
    01 พ.ค. 2566 09.50 น.
  • แม่ฮ่องสอน..สู่เมืองท่องเที่ยวสีเขียว ชู "โซลาร์ฟาร์มสมาร์ทกริด" พร้อมจ่ายไฟเชิงพาณิชย์แล้ววันนี้
    25 พ.ค. 2566 17.14 น.
  • ‘ผลิต-ไฟฟ้าลาว’ มั่นใจผลงานปีนี้เติบโตเด่น รับดีมานด์ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคเพิ่ม
    03 พ.ค. 2566 13.56 น.